หน้าหลัก
Untitled Document
  ค้นหา :
 
« ตุลาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
   1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

คลิกอ่านข่าววิทยุรัฐสภา

ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศประเทศ จับมือเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน ๗๗ จังหวัด ร่วมเป็นเครือข่ายสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศลำดับที่ ๑๕

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 28 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2559

            วันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และประธานคณะกรรมการบริหารเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ บรรยายเรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและความร่วมมือระหว่างสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศกับขบวนการองค์กรชุมชน” โดยมีสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในฐานะคณะกรรมการบริหารเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้แก่ นายกษิดิ์เดชธนทัต เดชขุนทด นายอัครินทร์ เลิศกิจชัยศิริ พร้อมด้วย พลเอก ดร. กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ และดร. อาณัฐชัย รัตตกุล คณะกรรมการบริหารหารเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ร่วมพบปะหารือกับเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน ๗๗ จังหวัด เพื่อหารือความร่วมมือในการเป็นเครือข่ายสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในการสัมมนาเรื่อง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ และการประสานงานการปฏิรูปประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจแนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ เพื่อออกแบบระบบการบริหารงานเชิงพื้นที่ของขบวนองค์กรชุมชน และเพื่อประสานเชื่อมโยงการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายมีจำนวน ๓๖๐ คน ประกอบด้วย ผู้แทนในคณะทำงานดำเนินการโครงงานเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ผู้แทนภาคชุมชนในการประสานการทำงานร่วมกับจังหวัดบูรณาการ ผู้แทนขบวนจังหวัด ๗๗ จังหวัด และคณะประสานงานองค์กรชุมชน จัดโดย เครือข่ายบวนองค์กรชุมชน ๗๗ จังหวัด

          นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้บรรยายสรุปถึงโรดแมปการทำงานของสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ กลไกการทำงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ความคืบหน้าในการพิจารณาแผนการปฏิรูปประเทศในด้านๆ ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยได้อธิบายถึงความเป็นมา และหน้าที่ของคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการบริหารเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยทั้งสองคณะกรรมการนี้ จะทำหน้าที่ในการสร้างและขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศกับองค์กรต่างๆ เพื่อร่วมกันเดินหน้าปฏิรูปประเทศ เน้นการสร้างความร่วมมือกัน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การปฏิรูปประเทศจะเกิดได้ต้องเกิดจากการปฏิรูปในระดับฐานราก ใช้พลังพลเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนวประชารัฐ เพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศไปด้วยกัน อยู่ร่วมกันได้บนความแตกต่าง โดยมองผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน ๗๗ จังหวัด มีความเข้มแข็งและมีสมาชิกเป็นจำนวนมาก ย่อมจะช่วยสื่อสารงานด้านการปฏิรูปประเทศให้สามารถแพร่ขยายไปถึงทุกพื้นที่ได้ ช่วยสร้างการตระหนักรู้ให้กับประชาชนถึงความสำคัญในการปฏิรูปประเทศ โดยรูปแบบการทำงานของเครือข่ายสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศนั้น จะเริ่มจากสถาบันราชภัฏทั่วประเทศจำนวน ๓๘ แห่ง ที่ได้ตกลงเป็นเครือข่ายสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศแล้ว สถาบันราชภัฏจะเป็นสถาบันการปฏิรูปประเทศ (Academy Reform) และทำหน้าที่เป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะ (Incubator) ผู้นำการปฏิรูปประเทศ สร้างผู้นำการปฏิรูปเพื่อเป็นผู้นำด้านการสื่อสารข่าวสารของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปให้เข้าถึงทั่วถึงพื้นที่ เพื่อสร้างคลื่นแห่งการปฏิรูป และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ให้เกิดขึ้นให้ประชาชนได้รับรู้ว่าการปฏิรูปมีอะไรบ้าง ทำไมต้องปฏิรูปประเทศ และจะปฏิรูปประเทศอย่างไร รวมถึงเมื่อปฏิรูปแล้วประเทศจะได้อะไร เพราะการปฏิรูปประเทศไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น จำเป็นต้องมีผู้นำด้านการปฏิรูปประเทศที่จะต้องสื่อสารเรื่องเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนตระหนักว่าการปฏิรูปประเทศเป็นความรับผิดชอบของทุกคน โดยใช้ทรัพยากรที่ทุกองค์กรมีอยู่เป็นเครื่องมือและช่องทางในการสื่อสารข่าวสารต่างๆ เช่น ทางสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยทีมโฆษกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและทีมประชาสัมพันธ์สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จะนำส่งข้อมูลความคืบหน้าของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไปยังเครือข่ายต่างๆ และทางเครือข่ายจะใช้ช่องทางการสื่อสารที่ตนเองมีอยู่ เช่น หอกระจายข่าว หรือการประชุมประจำเดือนของสมาคมกำนันผู้ใหญ่แห่งประเทศไทย เป็นต้น

          โดยทางเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชน ๗๗ จังหวัด ยินดีให้ความร่วมมือ และร่วมเป็นเครือข่ายสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยถือเป็นลำดับที่ ๑๕ ของเครือข่ายฯ ที่มีอยู่ ทั้งนี้ในเดือนเมษายนจะมีการลงนามในบันทึกทำความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่างสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศกับเครือข่ายสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศทั้งหมด เพื่อร่วมกันเดินหน้าปฏิรูปประเทศต่อไป

download download Download all images download
ร้องเรียน / ร้องทุกข์ หนังสือและสื่อเผยแพร่ ติดต่อรัฐสภา