หน้าหลัก
Untitled Document
  ค้นหา :
 
« ตุลาคม 2567 »
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
   1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30 31
ดูปฏิทินทั้งหมด
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์

คลิกอ่านข่าววิทยุรัฐสภา

ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
โฆษกกรธ. แถลงข่าว

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 8 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2559

วันอังคารที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง อาคารรัฐสภา ๑ นายอุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. แถลงข่าวเกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะ กรธ. ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาความเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชน หน่วยงาน และองค์กรต่าง ๆ ที่มีต่อร่าง รธน.เบื้องต้น เรียงลำดับในแต่ละมาตรา โดยให้ความสำคัญกับทุกข้อเสนอแนะ ซึ่งในวันนี้ได้มีการพิจารณาปรับแก้ไขในประเด็น    ดังนี้ ๑.อำนาจหน้าที่ของศาล รธน. มีการปรับแก้ไขโดยลดบทบาทอำนาจหน้าที่ของศาลรธน.ลง จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ - อำนาจวินิจฉัย      ในกรณีไม่มีบทบัญญัติแห่ง รธน.บังคับแก่กรณีใด (มาตรา ๕/๑)โดยปรับแก้ไขให้เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาล รธน.และประธานองค์กรอิสระ แทนที่จะเป็นอำนาจของศาล รธน.- อำนาจในการวินิจฉัยกรณีมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรม  (มาตรา ๒๓๑) ที่ได้ยกร่างให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ และส่งให้ศาล รธน.วินิจฉัยนั้น ได้ปรับแก้ใหม่ให้อำนาจวินิจฉัยเป็นของศาลฎีกา ๒. องค์ประกอบของตุลาการศาล รธน. - ได้ปรับแก้เรื่องการกำหนดอายุ จากเดิม   ไม่ต่ำกว่า ๔๕ ปี แต่ไม่เกิน ๗๕ ปี โดยได้ปรับแก้เป็นอายุไม่ต่ำกว่า ๔๕ ปี แต่ไม่เกิน ๖๘ ปี นับแต่วันที่สมัครเข้ารับการสรรหา - วาระของตุลาการศาล รธน. จากเดิม ๙ ปี เป็น ๗ ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว ๓. องค์คณะและอุทธรณ์คำพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยปรับแก้ในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ -องค์คณะของผู้พิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จากเดิม ๙ คน เป็นไม่น้อยกว่า ๕ คน แต่ไม่เกิน ๙ คน ตามที่กฎหมายบัญญัติ –การเปิดกว้าง ให้มีการอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ โดยให้สามารถอุทธรณ์ได้เหมือนคดีปกติ ทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษา จากเดิมที่ระบุให้อุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายกับกรณีที่มีพยานหลักฐานใหม่ -การวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกานั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ดำเนินการเลือกองค์คณะ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกา จากผู้ที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าคณะในศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโส ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งไม่เคยพิจารณาคดีนั้นมาก่อนจำนวน ๙ คน

download download Download all images download
ร้องเรียน / ร้องทุกข์ หนังสือและสื่อเผยแพร่ ติดต่อรัฐสภา