FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติฯ เข้าร่วมการประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๔ (COP 24) ณ เมืองคราคอฟ สาธารณรัฐโปแลนด์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 10 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2561

        วันอาทิตย์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น

ณ เมืองคราคอฟ) คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการประชุมรัฐสภา

ในโอกาสการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๔ (COP 24) ประกอบด้วย ศาสตราจารย์สนิท

อักษรแก้ว หัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติฯ พลอากาศเอก ทรงธรรม

โชคคณาพิทักษ์ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติฯ และพลเอก ศุภวุฒิ อุตมะ

ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติฯ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุม  

รัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๔

(COP 24) ณ โรงแรมปาร์ค อินน์ บาย เรดิสัน คราคอฟ (Park Inn by Radisson

Krakow) เมืองคราคอฟ สาธารณรัฐโปแลนด์

       ในพิธีเปิดการประชุม เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น ณ เมืองคราคอฟ)

ที่ประชุมได้รับฟังคำกล่าว จาก

    (๑) Ms. Beata Mazurek รองประธานสภาผู้แทนราษฎรโปแลนด์ เกี่ยวกับ

บทบาทของสาธารณรัฐโปแลนด์และความสำคัญของการประชุมที่เมืองคาโตวีเซ

ต่อการบรรลุความตกลงปารีส ทั้งยังกล่าวถึงเทคโนโลยี ป่าไม้ และทรัพยากรมนุษย์

ในฐานะองค์ประกอบสำคัญในการไปสู่การจัดการปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ

    (๒)  Ms. Gabriela Cuevas Barron ประธานสหภาพรัฐสภา เกี่ยวกับประเด็น

และรายงานทางสถิติต่าง ๆ ที่พิสูจน์ว่าอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จน

ไม่สามารถอยู่ในระดับที่เหมาะสมตามเงื่อนไขในความตกลงปารีส ทั้งยังเน้นย้ำ

บทบาทของรัฐสภาในฐานะผู้ใช้กลไกตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน และ

ในฐานะองค์กรที่อยู่ระหว่างประชาชนและรัฐบาล

    (๓) Ms. Hafida Lahiouel จาก UNFCCC เกี่ยวกับการแสวงหาหนทางเพื่อ

ให้มีความร่วมมือจากทุกฝ่ายร่วมกันในการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ

ภูมิอากาศ และการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ต่อเรื่องนี้ในทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับชุมชน

      จากนั้น ระหว่างเวลา ๑๐.๑๕-๑๐.๔๕ นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น ณ เมืองคราคอฟ)

เป็นปาฐกถา โดย Mr. Niklas Hagelberg จาก UN Environment หัวข้อ “Moving

into the implementation of the Paris Agreement with ambitious Nationally

Determined Contributions: Key areas to be addressed through national

laws and policies” เกี่ยวกับสถิติและตัวเลข ซึ่งสะท้อนข้อเท็จจริงว่าการปฏิบัติ

เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกยังคงไม่เพียงพอ และต้องเพิ่มความพยายามอย่างน้อย

๓ เท่า เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกินกว่า ๒ องศาเซลเซียส และอย่างน้อย

๕ เท่า เพื่อควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เกินกว่า ๑.๕ องศาเซลเซียส ต่อมา

ระหว่างเวลา ๑๐.๔๕-๑๒.๐๐ นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น ณ เมืองคราคอฟ) เป็นการ

อภิปรายทั่วไป (General Discussion) หัวข้อ “Developing and strenthening

legal and regulatory frameworks as enabling environments for climate

action at the national level” ผู้อภิปรายประกอบด้วย

(๑) Ms. Maria Socorro Manguiat จาก UN Environment

(๒) Dr. Alina Averchenkova จาก Grantham Research Institute

(๓) Mr. Matthew Moorhead จาก Commonwealth Secretariat

โดย Ms. Claudia Roth รองประธานรัฐสภาเยอรมนี ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ

     Ms. Manguiat กล่าวเกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลง

สภาพภูมิอากาศ จำเป็นต้องทำความเข้าใจใน

(๑) ธรรมชาติของความตกลงปารีส

(๒) ธรรมชาติของปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

(๓) ผลกระทบของปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่

Dr. Averchenkova กล่าวเกี่ยวกับการยกตัวอย่างกรณีศึกษาของการมี

กฎหมายเฉพาะทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในสหราชอาณาจักร

และสหรัฐเม็กซิโก ด้าน Mr. Moorhead กล่าวแนะนำ “Law and Climate

Change Toolkit” ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินกฎหมายภายในประเทศ

ของผู้ใช้บริการ (User) ว่าอยู่ในระดับเพียงพอหรือไม่ต่อการจัดการปัญหา

ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการควรเป็น

ผู้ออกกฎหมายหรือผู้สนับสนุนกระบวนการออกกฎหมาย

    ในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์สนิท อักษรแก้ว หัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติ

แห่งชาติฯ ได้สอบถามไปยังผู้อภิปรายในประเด็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย

ซึ่งโดยปกติกฎหมายจะนำมาใช้บังคับกับสังคมทั้งหมดในประเทศ แต่เนื่องจาก

สังคมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม จะมีมาตรการหรือองค์ความรู้เพื่อให้สังคม   

เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างไร

     ก่อนพักรับประทานอาหารกลางวัน ระหว่างเวลา ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ นาฬิกา

(เวลาท้องถิ่น ณ เมืองคราคอฟ) เป็นการอภิปราย หัวข้อ “Enabling

environments for renewable energy investments” ผู้อภิปรายประกอบด้วย

(๑) Mr. Heng Rogers จาก Blue Planet Foundation

(๒) Ms. Elizabeth Press จาก IRENA โดย Mr. Andries Gryffroy

สมาชิกวุฒิสภาเบลเยียมทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ
     Mr. Rogers กล่าวแนะนำ Blue Planet Foundation ในฐานะมูลนิธิ

ซึ่งได้ทำภารกิจด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความคิดริเริ่มต่าง ๆ เพื่อสร้าง

ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในมลรัฐฮาวาย

ประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่ Ms. Press กล่าวแนะนำ IRENA ในฐานะองค์กร

ที่พยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลังงานดั้งเดิมมาสู่พลังงานทางเลือก

พร้อมแสดงให้เห็นอัตราและการขยายตัวของการลงทุนในพลังงานทางเลือก

ซึ่งเพิ่มมากขึ้น อันส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนตำแหน่งงานที่ต้องการ    

ในการลงทุนดังกล่าวด้วย ประเทศที่ได้ร่วมให้ความช่วยเหลือประเทศไทยอยู่ด้วย

และต้องการทราบความท้าทายที่ไทยกำลังเผชิญเพื่อจะได้ร่วมกันหาแนวทาง

ไปสู่การจัดการเรื่องนี้ต่อไป

     จากนั้น ในช่วงบ่าย ระหว่างเวลา ๑๔.๐๐-๑๕.๓๐ นาฬิกา (เวลาท้องถิ่น

ณ เมืองคราคอฟ) เป็นการอภิปราย หัวข้อ “Economic instruments in

national environmental laws and policies” ผู้อภิปราย คือ Mr. Daniel

Besley จาก World Bank โดย Hon. Stephen Julius Masele รองประธาน

สภาแห่งแอฟริกา คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ Mr. Besley กล่าว

โดยสรุปว่าภาษีคาร์บอน (Carbon tax) เป็นหนทางที่ดีที่สุดในการได้มา

ซึ่งกองทุนเพื่อจัดการกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แต่กระบวนการทางภาษีคาร์บอนยังไม่เพียงพอในการจัดการปัญหานี้

จึงต้องการความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคเอกชน

      ในช่วงท้ายของการประชุม Ms. Anna Paluch สมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎรโปแลนด์ ได้นำเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ซึ่ง

ที่ประชุมรับทราบ ทั้งนี้ได้มีรัฐสภาบางประเทศตั้งข้อสงวนในคำขอ

แก้ไขบางประการที่เสนอโดย Ms. Paluch ด้วยเช่นกัน อนึ่ง แม้ว่ากำหนด

การประชุมรัฐสภาในโอกาสการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย               

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๔ (COP 24) จะค่อนข้างกระชับ

แต่คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติฯ ยังได้ใช้เวลาที่จำกัดพบปะหารือ

กับบุคคลต่าง ๆ อาทิ Dr. Akram Hasson สมาชิกรัฐสภาอิสราเอล Ms. Agnes

Mulder สมาชิกรัฐสภาเนเธอร์แลนด์ และ Ms. Gabriela Cuevas Barron

ประธานสหภาพรัฐสภาอีกด้วย


เครดิต : ภาพและข่าว โดยสำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร


download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
หอสมุดรัฐสภา
หนังสือและสื่อเผยแพร่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เยี่ยมชมรัฐสภา
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการ ติดต่อสอบถาม ชมเชย เสนอแนะ ร้องเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
กระดานถามตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
คุณธรรมคนสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำกัด
ระบบอินทราเน็ต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
E-Learning พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats