ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวสำนักงานฯ
สรุปผลการประชุมความเป็นหุ้นส่วนของรัฐสภาเอเชียและยุโรป ครั้งที่ ๘ ที่สาธารณรัฐอิตาลี

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 15 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2557

การประชุมความเป็นหุ้นส่วนของรัฐสภาเอเชียและยุโรป ครั้งที่ ๘ (The 8th Asia - Europe Parliamentary Partnership Meeting - ASEP) จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖-๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ อาคารสภาผู้แทนราษฎรอิตาลี กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี โดยมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมจำนวน ๓๘ ประเทศ และ ๑ องค์กร ได้แก่ สภายุโรป รวมทั้งโครเอเชีย และคาซัคสถาน ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ และจะเป็นประเทศสมาชิกใหม่ของ ASEP นอกจากนี้ ยังมีองค์กรระหว่างประเทศซึ่งได้รับเชิญจากรัฐสภาเจ้าภาพ ได้แก่ มูลนิธิเอเชีย - ยุโรป (Asia - Europe Foundation) และองค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization - FAO) เข้าร่วมการประชุม

สำหรับคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย

๑.     พลเอก ไพโรจน์  พานิชสมัย        -  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

                                                            -  หัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

๒.     นายวีระศักดิ์  ฟูตระกูล             -  สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

                                                            -  ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

๓.     นายกิตติ  วะสีนนท์                 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

                                                            -  ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

๔.     นางสาวเพ็ญประภา  วงษ์โกวิท    -  อัครราชทูต ณ กรุงโรม

                                                            -  ที่ปรึกษาคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

๕.     นายภาคภูมิ  มิ่งมิตร                -  ผู้บังคับบัญชากลุ่มงานกิจการพิเศษ

                                                สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ

                                                            -  เลขานุการคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

๖.     นางสาวปณิธี  จาตกานนท์         -  นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ

                                                กลุ่มงานกิจการพิเศษ

                                                สำนักองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ

                                             -  ผู้ช่วยเลขานุการคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

ทั้งนี้ ประเด็นหลักของการประชุม คือ “บทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมการหารือระหว่างภูมิภาคเอเชียกับยุโรป การเติบโตอย่างยั่งยืน และโครงสร้างการจัดการที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น” โดยแบ่งหัวข้อเป็นประเด็นเรื่อง “โครงสร้างการจัดการด้านเศรษฐกิจและการคลัง” และ “การเติบโตอย่างยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร”

 

พิธีเปิดการประชุม

 

               พิธีเปิดการประชุม จัดขึ้นในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยมีบุคคลสำคัญกล่าวสุนทรพจน์ ดังนี้

๑.     นางสาวลอรา โบลดรินิ (Ms. Laura Boldrini) ประธานสภาผู้แทนราษฎรอิตาลี ในฐานะประธานร่วมในการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘

๒.     นายปีเอร์โต กรัสโซ (Mr. Pierto Grasso) ประธานวุฒิสภาอิตาลี ในฐานะประธานร่วมในการ-ประชุม ASEP ครั้งที่ ๘

๓.     นายไซสมพอน พมวิหาน (Mr. Xaysomphone Phomvihane) รองประธานรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐ-ประชาธิปไตยประชาชนลาว ในฐานะประเทศเจ้าภาพ ASEP ครั้งที่ ๗

สาระสำคัญของการประชุม

               วาระการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘ ประกอบด้วย

๑.     การประชุมเตรียมการและการประชุมยกร่างปฏิญญาการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘ จัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ ซึ่งเป็นการพิจารณาระเบียบวาระและกำหนดการประชุม ลำดับขั้นตอนการประชุม การคัดเลือกผู้ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในการประชุม และการรับรองการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ ASEP นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณายกร่างปฏิญญาการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘

๒.     การประชุมเต็มคณะวาระที่ ๑ จัดขึ้นในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยเป็นพิธีเปิดการประชุม และการรับรองระเบียบวาระและกำหนดการประชุม ลำดับขั้นตอนการประชุม การคัดเลือกผู้ทำหน้าที่ต่าง ๆ ในการ-ประชุม และการรับรองการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของ ASEPได้แก่ โครเอเชียและคาซัคสถาน

๓.     การประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มที่ ๑ เรื่องโครงสร้างการจัดการด้านเศรษฐกิจและการคลัง จัดขึ้นในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยที่ประชุมเห็นว่า เศรษฐกิจของยุโรปและเอเชีย ตลอดจนตลาดทางการเงินมีการ บูรณาการและพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น ดังนั้นจึงควรสนับสนุนการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

๑)     จัดตั้งสถาบันในระดับภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคเพื่อเน้นความต้องการเฉพาะของกลุ่ม ในขณะเดียวกัน ต้องมีการสนับสนุนการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันของประเทศกำลังพัฒนาให้มากขึ้น

                    ๒) สนับสนุนการริเริ่มของกลุ่มประเทศจี ๒๐ ในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศ และความจำเป็นในการพึ่งพาตนเองทางการเงินของแต่ละประเทศ ตลอดจนการออกนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป

                    ๓)  เนื่องจากปัญหาความยากจนและการถูกกีดกันทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ จึงต้องมีโครงการพัฒนาต่างเพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งควรจะมีการออกกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจทางสังคมและการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการสร้างความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคมจะช่วยป้องกันความขัดแย้งทางสังคม

                    ๔)  เน้นย้ำบทบาทของรัฐสภาในการสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และการบรรลุความต้องการของประชาชนภายใต้กลไกทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

                    ๕)  หามาตรการในการขจัดปัญหาการว่างงาน โดยเฉพาะในวัยคนหนุ่มสาว โดยการใช้นโยบายทางสังคมและเศรษฐกิจและแรงจูงใจที่เหมาะสมให้แก่ภาคธุรกิจ

               ๔.  การประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มที่ ๒ เรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืนและความมั่นคงด้านอาหาร จัดขึ้นในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยที่ประชุมแสดงความกังวลว่า ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มีความซับซ้อน ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องดำเนินไปพร้อมกันทุกด้าน ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยภาคการเกษตรยังคงเป็นภาคที่มีการจ้างงานมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้น จึงควรสนับสนุนการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

                     ๑)  สนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการกำหนดและปฏิบัติตามมาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อม เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และนำไปสู่รูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

                      ๒)  หยิบยกประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ และร่วมมือกันลดปัญหาดังกล่าว เพื่อเป็นหลักประกันการเติบโตอย่างยั่งยืน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบทางลบต่อการเกษตรและประชากร

                    ๓)  ขจัดปัญหาความยากจน ความหิวโหย และภาวะทุพโภชนาการ ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ และวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๕๘

                    ๔)  เน้นย้ำการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างเอเชียและยุโรปในการพัฒนาระบบอาหารทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะบทบาทของเกษตรรายย่อยในครอบครัวและบทบาทของสตรีและคนหนุ่มสาว รวมทั้งการปกป้องสิ่งบ่งชี้ทางภูมิรัฐศาสตร์

                    ๕) สนับสนุนแนวทางดำเนินการแบบครอบคลุมวงจรการผลิตและบริโภคอาหาร โดยต้องมีระบบเศรษฐกิจที่สมดุล และการลดการสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกและความหลากหลายทางชีวภาพ และการผลิตพืชผล รวมทั้งการใช้น้ำอย่างสมเหตุผลและเท่าเทียมกัน เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน

                    ๖)  เรียกร้องให้ FAO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ของสหประชาชาติ ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ สนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวให้บรรลุผล ตลอดจนเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศสมาชิก ASEM สถาบันระหว่างประเทศ และภาคเอกชน ส่งเสริมการผลิตอาหาร และปรับปรุงการผลิต โดยเพิ่มการลงทุนอย่างมีความรับผิดชอบ

                    ๗)  สนับสนุนการจัดงาน EXPO ณ นครมิลาน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ภายใต้หัวข้อหลัก “Feeding the Planet, Energy for Life” เพื่อหารือประเด็นความมั่นคงด้านอาหาร โภชนาการ และแหล่งทรัพยากรของโลกในทุกมิติ รวมทั้งการเคารพคุณค่าทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

               .  การประชุมเต็มคณะวาระที่ ๒ จัดขึ้นในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยเป็นการรายงานผลการประชุมกลุ่มย่อยที่ ๑ และกลุ่มย่อยที่ ๒ รวมถึงการรับรองปฏิญญาการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘ ซึ่งเน้นย้ำความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งสองภูมิภาคตามหัวข้อของการประชุม โดยจะส่งปฏิญญาการประชุมดังกล่าวให้การประชุม ASEM เพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลรับทราบข้อคิดเห็นของฝ่ายนิติบัญญัติด้วย

 

พิธีปิดการประชุม

 

               พิธีปิดการประชุม จัดขึ้นในวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยมีบุคคลสำคัญกล่าวสุนทรพจน์ ดังนี้

๑.     นายเบเนเด็ตโต้ เดลลา เวโดวา (Mr. Benedetto Della Vedova) รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ รับผิดชอบความสัมพันธ์กับเอเชีย โอเชียเนีย และประเทศในแปซิฟิก

๒.     นายอัมมาร์จาร์กัล รินชินยัม (Mr. Amarjargal Rinchinnyam) สมาชิกรัฐสภามองโกเลี และอดีตนายกรัฐมนตรีมองโกเลีย ซึ่งจะเป็นประเทศเจ้าภาพ ASEP ครั้งที่ ๙ ในปี ๒๐๑๖

๓.     การนำเสนองาน EXPO 2015 MILANO โดย นางดิอานา บราคโค (Mrs. Diana Bracco) ประธานงาน EXPO 2015 MILANO และผู้อำนวยการอาคารแสดงแห่งประเทศอิตาลี

 

บทบาทของคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

               ในการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘ คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เข้าร่วมการประชุมในวาระต่าง ๆ ทุกวาระ ดังนี้

 

               การประชุมเตรียมการและการประชุมยกร่างปฏิญญาการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘

               คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้เข้าร่วมประชุมเตรียมการและจัดทำข้อเสนอแนะต่อร่างปฏิญญาการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘ ในหลายประเด็น เพื่อให้ร่างปฏิญญามีความสมบูรณ์มากขึ้น

               การประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มที่ ๑ เรื่องโครงสร้างการจัดการด้านเศรษฐกิจและการคลัง

               นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อเรื่อง “โครงสร้างการจัดการด้านเศรษฐกิจและการคลัง” โดยเน้นว่า เศรษฐกิจของเอเชียมีการเติบโตอย่างช้า ๆ ส่วนเศรษฐกิจของยุโรปไม่มีการเติบโตเลย โดยโลกมีสภาพคล่องสูงแต่มีอุปสงค์น้อย ทั้งนี้ กลุ่มประเทศจี ๒๐ เห็นร่วมกันว่า การที่จะบรรลุผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) ของกลุ่มประเทศจี ๒๐ ให้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒ จำเป็นต้องสนับสนุนการลงทุนในสาธารณูปโภคและการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการอำนวยความ-สะดวกการปรับปรุงนโยบายทางการเงินและการคลังของกลุ่มประเทศจี ๒๐ ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ประเทศสมาชิก ASEP ควรจะดำเนินยุทธศาสตร์ที่คล้ายคลึงกันภายใต้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคเอเชียและยุโรป นอกจากนี้ ควรจะสนับสนุนการลงทุนในสาธารณูปโภคและการค้าระหว่างภูมิภาค ตลอดจนการดำเนินการประสานนโยบายทางการเงินและการคลัง ทั้งนี้ ประเทศไทยเสนอให้มีการจัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนด้านสาธารณูปโภคระหว่างยุโรปและเอเชีย (Euro - Asian Infrastructure Investment Bank) เพื่อสนับสนุนการเงินในการลงทุนด้านสาธารณูปโภคระหว่างภูมิภาค และการจัดตั้งการเป็นหุ้นส่วนทางการค้าและการลงทุนระหว่างยุโรปและเอเชีย (Euro - Asian Trade and Investment Partnership) เพื่อเสริมสร้างการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาค

               การประชุมกลุ่มย่อยกลุ่มที่ ๒ เรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร

               นายกิตติ วะสีนนท์ ผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อเรื่อง “การเติบโตอย่างยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร” โดยเห็นว่า ประเด็นเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนและความมั่นคงด้านอาหารควรจะบรรจุอยู่ในวาระการพัฒนาหลังปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลาง สำหรับการเติบโตอย่างยั่งยืนก่อนปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว แต่ยังคงประสบปัญหาวินัยทางการคลัง การบริหาร และจริยธรรมทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ประเทศไทยได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจ โดยเน้นหลักพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน ทำให้ประเทศไทยมิได้รับผลกระทบมากนักจากวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๑ สำหรับความมั่นคงทางอาหาร ไทยได้รับการขนานนามเป็นครัวของโลก และเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับสองของโลก ประเทศไทยยังสนับสนุนความร่วมมือความมั่นคงทางอาหารภายใต้กรอบองค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization - FAO) โครงการอาหารโลก  (World Food Program - WFP) และความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน ทั้งนี้ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการผลิตทางการเกษตร ซึ่งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโอกาสเผชิญปัญหาความแห้งแล้งในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งอาจทำให้ราคาข้าวสูงขึ้น และเศรษฐกิจเติบโตช้าลง ดังนั้น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศยุโรปในการจัดการปัญหาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายที่เหมาะสม และไทยยินดีที่จะเข้าร่วมงาน EXPO ที่นคร-มิลาน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ภายใต้หัวข้อหลักคือ “Feeding the Planet, Energy for Life” โดยไทยจะจัดอาคารแสดงของไทยภายใต้หัวข้อ “Nourishing and Delighting the World” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้สอดคล้องกับหัวข้อหลักในงาน EXPO ด้วย 

               การประชุมเต็มคณะวาระที่ ๒

               พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติ-แห่งชาติ ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม โดยกล่าวสรุปถึงประเด็นในการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘ ได้แก่ โครงสร้างทางเศรษฐกิจและการคลัง และการเติบโตอย่างยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร โดยปัจจุบันนานาประเทศต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจโลกที่อ่อนตัวลง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจจะก่อให้ เกิดความแห้งแล้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของโลก จึงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร ที่ประชุม ASEP จึงเรียกร้องให้มีการออกนโยบายเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพิ่มการค้าและการลงทุนระหว่างยุโรปกับเอเชีย รวมทั้งให้มีการเติบโตอย่างสมดุลระหว่างมาตรการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการลดปัญหาความยากจน โดยคำนึงว่า ประเทศกำลังพัฒนาจะมีบทบาทอย่างเท่าเทียมกันในสถาบันเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศ ในส่วนของความมั่นคงทางอาหาร ที่ประชุม ASEP เน้นย้ำการใช้น้ำอย่างสมเหตุผลและเท่าเทียมกัน ดังนั้น ประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีเทคโนโลยีสูงในการบริหารจัดการน้ำ การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ และการต้มกลั่นน้ำจากทะเล ควรจะช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งอย่างรุนแรง เพื่อให้สามารถผลิตอาหารสำหรับประชากรภายในประเทศและของโลกได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เนื่องจากประชากรของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งความต้องการอาหาร น้ำ และทรัพยากรอื่น ๆ ประเทศสมาชิก ASEP จึงควรเป็นผู้แทนในการสร้างความตระหนักของนานาประเทศ เรียกร้องให้มีการร่วมมือกันเพื่อแบ่งปันทรัพยากรของโลกอย่างยั่งยืน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรของโลก ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งทั่วโลก ทั้งนี้ ไทยจะจัดงานแสดงภายใต้หัวข้อ “Nourishing and Delighting the World” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารและการเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย 

ภารกิจด้านพิธีการ

 

               คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีภารกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากการเข้าร่วมประชุม ได้แก่

๑.     การหารือทวิภาคีกับ นายจูเยลโม เอปิฟานี (Mr. Guglielmo Epifani) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอิตาลี และประธานคณะกรรมาธิการกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว ด้านความร่วมมือระหว่างเอเชียและยุโรป เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗ และนายปีแอร์ เฟร์ดินานโด้ คาซินิ (Mr. Pier Ferdinando Casini) สมาชิกวุฒิสภาอิตาลี และประธานคณะกรรมาธิการกิจการด้านต่างประเทศและการเข้าเมือง  เมื่อวันอังคารที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๗ โดยเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองและพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ คสช. เข้าควบคุมการบริหารประเทศในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ รวมทั้งการใช้แผน Road Map เพื่อบรรลุประชาธิปไตยที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ได้หารือเกี่ยวกับประเด็นการอภิปรายในการประชุม ASEP ครั้งที่ ๘ มุมมองต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยุโรป และประเด็นปัญหาปัจจุบัน ได้แก่ ปัญหาด้านการค้าและการลงทุน และปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ โดยไทยได้ยกตัวอย่างโอกาสของปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งอาจเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ และจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารในภูมิภาค ส่วนอิตาลีได้กล่าวถึงปัญหาคล้ายลมมรสุมและฤดูกาลที่ผิดเพี้ยนซึ่งส่งผลต่อการผลิตทางการเกษตรและการท่องเที่ยว ตลอดจนปัญหาการใช้พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) และการอพยพของประชากรจากแอฟริกาใต้เข้ายุโรป ซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น การเหยียดผิวและเชื้อชาติ

๒.     นางสาวเพ็ญประภา วงษ์โกวิท อัครราชทูต ณ กรุงโรมเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเย็นร่วมกับทีม-ไทยแลนด์ ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูต กรุงโรม เมื่อวันจันทร์ที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๗

 

 

 

 

 

/แก้ไข)

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
ฐานข้อมูลวิชาการและกฎหมายของส่วนราชการสังกัดรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ
หอสมุดรัฐสภา
หนังสือและสื่อเผยแพร่ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เยี่ยมชมรัฐสภา
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
ช่องทางการ ติดต่อสอบถาม ชมเชย เสนอแนะ ร้องเรียน เกี่ยวกับการดำเนินงานของสำนักงานฯ
ช่องทางการแจ้งเบาะแสร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ
กระดานถามตอบ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ระบบสมุดโทรศัพท์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร	สำหรับ iOS และ Android
กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เงินทุนหมุนเวียนเพื่อให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรกู้ยืมเพื่อชำระหนี้สิน
ระบบบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
คุณธรรมคนสภา
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรมุ่งสู่สำนักงานสีเขียว
สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา จำกัด
ระบบอินทราเน็ต สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
E-Learning พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
บริการสอบถามข้อมูล CALL CENTER 1743


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...



สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
Call Center ๑๗๔๓ โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐
e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
Share

View My Stats