FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวรัฐสภา
ประธานรัฐสภา และประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า ให้เกียรติบรรยาย เรื่อง “ธรรมาภิบาล ภาคปฏิบัติ" ในหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง รุ่นที่ 14 (มส.14)

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 29 ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2565

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม 2565 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ อาคารทรงกลม โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า ให้เกียรติบรรยาย เรื่อง “ธรรมาภิบาล ภาคปฏิบัติ" ในหลักสูตรการบริหารจัดการด้านความมั่นคงขั้นสูง รุ่นที่ 14 (มส.14)

ในการนี้ ประธานรัฐสภา กล่าวถึง “หลักธรรมาภิบาล” หรือ “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” มาจากคำว่า “Good Governance” ในภาษาอังกฤษ ส่วนคำในภาษาไทย เพิ่งเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540โดยเป็นผลจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทยที่เรียกว่า “ต้มยำกุ้ง” อันเป็นวิกฤตเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่ง สาเหตุหลักของวิกฤตครั้งนั้นมาจากการบริหารองค์กรและบ้านเมืองอย่างขาดหลักธรรมาภิบาล การดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดในหลายด้านก่อความเสียหายแก่ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ  รวมไปถึงภาคเอกชนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเงินของไทยทั้งที่เป็นภาคธนาคารและสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร นำไปสู่ความสูญเสียทุนสำรองจนเกือบหมดสิ้น รัฐบาลในขณะนั้นได้ขอเข้ารับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อเสริมทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น จนรัฐบาลต้องลาออกไป และตนก็ได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2540 เพื่อแก้ปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและปัญหาระยะยาวของประเทศต่อไป ในปัจจุบันมีการเปรียบเทียบวิกฤตต้มยำกุ้งกับโควิด-19 ว่า เหตุการณ์ใดรุนแรงกว่ากัน เห็นว่า โควิด – 19 เป็นการแพร่ระบาดของโรคที่เกิดขึ้นทั่วโลกแต่ไม่ถึงกับต้องมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ส่วนวิกฤตต้มยำกุ้งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในบางประเทศเท่านั้น แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลการเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในครั้งนั้น ประเทศเรายังโชคดีประการหนึ่งที่แม้จะเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่เกิดเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตทางสังคม ทั้งนี้ เนื่องจากลักษณะทางสังคมของประเทศไทยมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็ง คนตกงานในยุคนั้น
จึงไม่ถึงขั้นเป็นคนไร้ที่อยู่อย่างที่ปรากฏในบางประเทศ แต่เมื่อตกอยู่ในภาวะที่ไร้อาชีพ ก็กลับไปอยู่กับครอบครัวที่ภูมิลำเนาของตน ช่วยทำงานในครัวเรือน ประกอบกับมีแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นการสร้างค่านิยมที่ทำให้ตระหนักถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ลดสิ่งที่ฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นส่วนช่วยให้ประเทศเราไม่เกิดวิกฤติทางสังคม แม้จะเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจก็ตามภายหลังจากการเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งดังที่กล่าวมานั้น ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าสมควรที่จะต้องกำหนดนโยบายและวางระเบียบปฏิบัติราชการ รวมทั้งภาคเอกชน เพื่อให้การจัดระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก หลักธรรมาภิบาลจึงเป็นหลักเกณฑ์ที่มีความสำคัญประการหนึ่งเนื่องจากเป็นหลักการบริหารงานที่ตั้งมั่นอยู่บนหลักการที่เที่ยงธรรม สุจริต โปร่งใสตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ได้กระทำ พร้อมตอบคำถามหรือตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และพร้อมรับผิด การยึดหลักเช่นนี้จะทำให้ผู้ปกครองคำนึงถึงการมีส่วนร่วมในการรับรู้และตัดสินใจ ในการดำเนินงาน เพราะธรรมาภิบาลเป็นทั้งหลักการ กระบวนการ และเป็นเป้าหมายในตัว จึงมีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 โดยมีหลักสำคัญอย่างน้อย 6 ประการ 
1. หลักนิติธรรม 
2. หลักคุณธรรม 
3. หลักความโปร่งใส 
4. หลักความมีส่วนร่วม 
5. หลักความรับผิดชอบ  
6. หลักความคุ้มค่า 
และ“หลักความไม่เกรงใจ” เพราะประเทศไทยเคยชินกับคำว่าเกรงใจ จนบางครั้งยอมกระทำในสิ่งที่ผิด ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ถูกต้อง แต่ยังกระทำเพราะความเกรงใจ นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ฉบับปัจจุบัน ได้ปรากฏคำว่า “ธรรมาภิบาล” ในคำปรารภ และในมาตรา 65 เรื่องการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นได้ว่าแม้สภาพสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่หลักธรรมาภิบาลก็ยังคงมีความสำคัญในการบริหารประเทศ หรือการบริหารในระดับองค์กรอยู่เสมอ

ปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบวิกฤตด้านธรรมาภิบาล และคุณธรรมอย่างมาก สังคมเกิดความแตกแยก มีการใช้กำลังทำร้ายกันอย่างไร้มนุษยธรรม มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงเป็นที่ประจักษ์ในทุกระดับ ทั้งในวงราชการและภาคเอกชน มีรูปแบบการทุจริตที่เปลี่ยนแปลงไป มีลักษณะที่ซับซ้อนยากต่อการตรวจสอบ สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือ สังคมไทยมีทัศนคติที่ยอมรับและมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติธรรมดา จนมีคำกล่าวที่ว่า “โกงกินบ้างก็ไม่เป็นไร ขอให้มีผลงานก็พอ” หลักธรรมาภิบาล มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่ต้องช่วยกันปลูกฝังให้ทุกคนได้ตระหนักถึง  เพื่อมิให้คนในสังคมไทยมีทัศนคติที่มองว่าการทุจริตคอร์รัปชันในทุกวงการเป็นเรื่องธรรมดาที่ยอมได้ แต่หากต้องมองว่าการทุจริต คือสิ่งที่ผิดปกติ ผิดกฎหมายและไม่อาจที่จะให้คนในสังคมยอมรับในการทุจริตได้ เพราะจะทำให้เกิดวังวนแห่งการทุจริตที่ไม่จบสิ้น เช่น การใช้ระบบธุรกิจการเมือง ซึ่งมองการเมืองเป็นธุรกิจใช้เงินซื้อทุกอย่างที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนการได้มาซึ่งอำนาจ ซื้อตัวนักการเมือง พรรคการเมือง องค์กรต่าง ๆ มวลชน กระบวนการยุติธรรม สื่อมวลชน และซื้อเสียงในการเลือกตั้งทุกระดับทำให้องค์กรทั้งหลายที่เป็นกลไกในการถ่วงดุลตรวจสอบการใช้อำนาจตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างแท้จริง เมื่อมีการลงทุนในลักษณะธุรกิจการเมืองดังกล่าวแล้ว ผู้ลงทุนก็ย่อมที่จะมุ่งหวังผลตอบแทนหรือกำไรที่จะได้รับจากการลงทุน จึงมีการแสวงหาผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ เพื่อให้ได้เงินที่ลงทุนไปกลับคืนมาพร้อมด้วยผลกำไร และสะสมไว้สำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อ ๆ ไป การได้ผู้แทนซึ่งมีที่มาจากการทุจริต ก็จะส่งผลให้เกิดรัฐบาลที่ทุจริตด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า เมื่อได้รัฐบาลในลักษณะเช่นนั้นมาบริหารประเทศ ก็จะมีการออกนโยบายที่ขัดต่อหลักนิติธรรม ส่อไปในทางที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับตนเองและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ  อันก่อให้เกิดปัญหา
การทุจริตคอรัปชันในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สุด ดังนั้น จึงถือได้ว่า ระบบธุรกิจการเมืองเปรียบเสมือนโรคร้ายของการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่ทั้งนี้ ปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นภายในบ้านเมืองเรา ส่วนใหญ่มิใช่เพราะผู้ปกครองหรือผู้บริหารบ้านเมืองไม่รู้ถึงหลักการหรือข้อดีของหลักธรรมาภิบาล แต่หากเป็นเพราะผู้ปกครองหรือผู้บริหารบ้านเมืองไม่เคารพกฎกติกาของบ้านเมือง ละเลยคุณธรรมจริยธรรม ไม่นำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในภาคปฏิบัติให้ผล กล่าวคือ บุคคลเหล่านั้นรู้ว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด สิ่งใดที่ควรปฏิรูปหรือแก้ไข แต่ก็ยังคงปฏิบัติตนอย่างไร้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรม หรือไม่นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ปฏิบัติเพื่อแก้ไขหรือยับยั้งปัญหาต่าง ๆ จนทำให้บ้านเมืองของเราติดขัดมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งสำคัญที่จะต้องกระทำในขณะนี้ คือการนำเอาความรู้ คุณธรรมจริยธรรม รวมถึงหลักธรรมาภิบาลทั้งหลายมาปฏิบัติให้เกิดผลอย่างแท้จริง

ผมอยากจะขอย้ำเลยว่า การที่ผู้ปกครองหรือผู้บริหารประเทศนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในภาคปฏิบัติให้เกิดผล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงอยู่ของระบอบประชาธิปไตยและความสงบเรียบร้อยในสังคม เนื่องจากความมีอิสรภาพ เสรีภาพและความเสมอภาค
ของประชาชนอันเป็นหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยมีความเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิดให้เกิดความเหลื่อมล้ำได้อยู่เสมอ หากผู้ปกครองหรือผู้บริหารประเทศไม่มีคุณธรรม จริยธรรมไม่มีธรรมาภิบาล ประกอบกับประชาชนก็ไม่รู้หน้าที่ของตนเองที่มีต่อส่วนรวม สังคมก็จะไร้ระเบียบและเกิดความวุ่นวายได้ ฉะนั้นขอฝากข้อคิดไว้ว่า ส่วนหนึ่งพวกเราต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการยึดหลักธรรมาภิบาล และนำไปใช้ในภาคปฏิบัติ และขอให้ทุกคนช่วยกันส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักธรรมมาภิบาลทั้ง 6 ประการ รวมถึงหลักความไม่เกรงใจ ไม่นิ่งเฉยต่อการทุจริตในทุกรูปแบบ หรือการฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง เพียงเท่านี้ ผมคิดว่าจะยังให้เกิดความปกติสุขในบ้านเมืองและช่วยให้ระบอบประชาธิปไตยอยู่คู่กับสังคมไทยไปอย่างยาวนาน

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats