FONTSIZE
ห้องข่าว >> ภาพข่าว >> ภาพข่าวรัฐสภา
ประธานรัฐสภา ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ ความรับผิดทางกฎหมายอันเกิดจากการบริหาร : ความรับผิดทางการเมือง ให้แก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 20 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

๏ฟฝัน๏ฟฝ๏ฟฝ๏ฟฝ 23 ๏ฟฝ๏ฟฝ.๏ฟฝ. 2564

วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 เวลา 17.00 นาฬิกา ณ ห้องทำงานประธานรัฐสภา ชั้น 3 อาคารรัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “ความรับผิดทางกฎหมายอันเกิดจากการบริหาร : ความรับผิดทางการเมือง” ให้แก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (ปรม.) รุ่นที่ 20 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

โดย ประธานรัฐสภา ได้กล่าวถึงการบริหารงานที่ยึดหลักนิติธรรม นิติรัฐ และหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเสมอมา ตลอดระยะเวลา 52 ปี บนเส้นทางการเมือง ผ่านการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมา 16 สมัย เป็นนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร 2 สมัย ได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับ “ความรับผิดทางกฎหมายอันเกิดจากการบริหาร : ความรับผิดทางการเมือง” เป็นอย่างดี ยิ่งไปกว่านั้น ในฐานะที่เคยได้ทำงานด้านบริหาร หรือเป็นผู้นำฝ่ายค้าน อภิปรายไม่ไว้วางใจคนอื่น หรือเป็นฝ่ายบริหารที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ยิ่งทำให้ได้เห็นข้อมูลหลายอย่างที่เป็นอันตรายต่อบ้านเมือง ซึ่งถือเป็นกับดักสำคัญทางการเมืองมาโดยตลอด นั่นก็คือเรื่องของการทุจริตประพฤติมิชอบในแวดวงต่าง ๆ ไม่มีข้อยกเว้น และแนวโน้มก็มิได้ลดลง แต่ได้เพิ่มความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นการทุจริตเชิงนโยบาย เพราะคนส่วนใหญ่มีการศึกษาที่สูงขึ้น เก่งฉลาดมากขึ้น ดังนั้น นอกจากคนเก่งแล้ว ประเทศชาติของเรายังต้องการคนดี ทั้งคนดี  ที่เข้ามาบริหารประเทศ และคนดีที่เป็นประชากรของชาติ เพราะจะเป็นส่วนช่วยให้การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็ง สามารถคานอำนาจซึ่งกันและกัน ทำให้บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า พัฒนาได้อย่างเป็นธรรม เท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รัฐธรรมนูญหรือกฎกติกาที่ดีก็ไม่สามารถที่จะรักษาความถูกต้องชอบธรรมไว้ได้ถ้าผู้ปฏิบัติเป็นคนไม่ดีไม่เคารพกฎเกณฑ์กติกา ในฐานะผู้ปฏิบัติ ยืนยันได้ว่ากฎเกณฑ์กติกาที่ดีกับคนดีจะต้องไปด้วยกัน รัฐธรรมนูญดีแต่ผู้ใช้ไม่ดีก็ทำให้บ้านเมืองมีปัญหาได้ หากกฎเกณฑ์ไม่สมบูรณ์ถ้าผู้ใช้เป็นคนดีก็อาจประคับประคองไปได้ แต่ดีที่สุดคือมีทั้งกฎเกณฑ์ที่ดีและผู้ปฏิบัติที่ดี ระบอบประชาธิปไตยจึงต้องมีนักประชาธิปไตยเข้ามารับผิดชอบ ซึ่งนอกจากมาจากการเลือกตั้งแล้ว ต้องมาอย่างชอบธรรมและมีศรัทธาต่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ความศรัทธาเชื่อมั่นนี้จะทำให้ผู้นั้นไม่กระทำการใดนอกกรอบและหลักของระบบการปกครอง เช่น ไม่ละเมิดหลักนิติธรรม ปฏิบัติภายใต้กรอบหลักธรรมาภิบาลในภาคปฏิบัตินั้นผู้ใช้รัฐธรรมนูญมักกลายเป็นเงื่อนไขสร้างปัญหา กล่าวคือ ปัญหาโดยทั่วไปไม่ได้เกิดขึ้นจากการที่รัฐธรรมนูญไม่เหมาะสม แต่เกิดจากผู้ใช้รัฐธรรมนูญที่ไม่ยึดมั่นระบอบประชาธิปไตยมากกว่า ดังนั้นเราจึงควรส่งเสริมคนดีให้ได้เข้ามาเป็นผู้ปฏิบัติมาปกครองบ้านเมือง ดังเช่นที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดช ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทว่า “....ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครทำทุกคนให้เป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำบ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่อยู่ที่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...”  การปกครองที่ดีจริงไม่ใช่เพียงผู้ปกครองดีเท่านั้น แต่ต้องมีหลักการปกครองที่ดีควบคู่ไปด้วย ดังนั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของที่มาหลักนิติธรรม นิติรัฐ ปกครองด้วยหลักของกฎหมาย ซึ่งทุกคนไม่ว่าจะฐานะร่ำรวย  หรือจน ต้องเสมอกันด้วยหลักของกฎหมาย ถ้าละเลยเห็นแก่พวกพ้อง ยกเว้นไปปฏิบัติตามหน้าที่ อาจเพราะไปเป็นหนี้บุญคุณและต้องตอบแทน ต้องถูกจำคุกมีให้เห็นในหลาย ๆ คดี โทษฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ที่ผ่านมาสิ่งที่ถูกมองข้ามคือคุณสมบัติของคนที่เข้ามาทำงานการเมือง ประสบการณ์ของไทยทำให้เราเห็นความต้องการมืออาชีพที่แท้จริงในแต่ละสายอาชีพจะเห็นได้ว่าขณะที่ในสายการเมืองมีการล้มลุกคลุกคลาน แต่สายตุลาการยังเป็นหลักให้แก่สังคมไทยตลอดมาถึงจะมี การรุกล้ำแทรกแซง ข่มขู่ คุกคาม กดดัน โดยผู้มีอำนาจในทางการเมืองในบางยุคบางสมัย แสดงให้เห็นว่าการสร้างมืออาชีพในการทำงานสำคัญมาก ในทางการเมืองคำว่ามืออาชีพไม่ใช่มีอาชีพการเมืองแต่จะต้องเป็นนักการเมืองที่รู้จักเรียนรู้ปัญหาบ้านเมือง แต่ถ้าไม่รู้แล้วออกนโยบายมาในเชิงอวดรู้บ้านเมืองก็จะไปไม่รอด การเป็นมืออาชีพที่รู้ปัญหาจะต้องเป็นนักปฏิบัติที่ไม่ใช่พูดว่ารักประชาธิปไตยแต่โกงเลือกตั้ง ซื้อเสียง พูดรณรงค์ต่อต้านการทุจริตแต่ตัวเองกับพวกพ้องทุจริต เมื่อเป็นมืออาชีพไม่ว่าจะในสายใด สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ ทุกฝ่ายต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช ที่พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และ 2553 ดังข้อความว่า “...ขอขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิตพรั่งพร้อมกันมาให้พรวันเกิด ด้วยถ้อยคำที่เลือกสรรมาจากใจจริง ซึ่งปรารถนาดี มุ่งหมายให้ข้าพเจ้ามีความสุข ความสวัสดีโดยประการต่างๆ ความสุขความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญมั่นคง เป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น จะสัมฤทธิ์ผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยทุกคน ทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น จึงขอให้ท่านทั้งหลาย ในที่นี้ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่า ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วตั้งจิต ตั้งใจให้เที่ยงตรง หนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ เพื่อชาติบ้านเมืองอันเป็นที่อยู่ ที่ทำกินของเรา มีความเจริญมั่นคง ยั่งยืนไป..."  ในเรื่องของหลักธรรมาภิบาลนั้น หลายประเทศได้เรียนรู้และนำมาใช้ ประเทศไทยก็ได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี หรือหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นช่วงที่ผมได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 จึงเป็นผู้ลงนามประกาศใช้ระเบียบดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2542 โดยระเบียบนี้มีหลักสำคัญ 6 ประการ คือ 1.ด้านหลักนิติธรรม 2.ด้านหลักคุณธรรม 3.ด้านความโปร่งใส 4.ด้านหลักการมีส่วนร่วม 5.หลักสำนึกรับผิดชอบ 6.หลักความคุ้มค่า 

นอกจากหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ 6 ประการดังที่กล่าวแล้ว ผมอยากจะให้เพิ่มอีกข้อ คือ หลักความไม่เกรงใจ เราเคยชินกับคำว่าเกรงใจ จนบางครั้งยอมทำในสิ่งที่ผิด เช่น ยอมทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ถูกต้องเพียงเพราะต้องทำตามเพราะความเกรงใจ และอีกประการคือ การเป็นผู้กตัญญูรู้คุณ มีการตอบแทนความช่วยเหลือในการให้เงินให้สิ่งของ จึงทำให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง บุญคุณต้องทดแทนโดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดกับประเทศชาติ ในการคืนทุนของผู้ให้ความช่วยเหลือดังกล่าว  ผมในฐานะประธานรัฐสภา และในฐานะประธานสภาสถาบันพระปกเกล้า ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบ้านเมืองให้สุจริต ด้วยการมีประชากรของชาติที่เป็นคนดี มีความสุจริตซื่อตรง คุณภาพความเป็นพลเมืองที่ดีจะเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้มีความมั่นคง จึงได้จัดทำโครงการบ้านเมืองสุจริตโดยให้สถาบันพระปกเกล้าร่างหนังสือคู่มือ “สุจริตชนเพื่อเสริมสร้างบ้านเมืองสุจริต” เพื่อมุ่งหวังให้เป็นคู่มือสำหรับนักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า ตลอดจนเยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้เรียนรู้และเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการประพฤติปฏิบัติตนเป็น “คนดี” ซึ่งจะทำให้สังคมและบ้านเมืองเกิดความสุจริต และพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน ก็ขอฝากท่านผู้บริหารและนักศึกษาทุกท่าน ร่วมมือร่วมใจกันสร้างบ้านเมืองของเราให้สุจริต และเป็นปึกแผ่นมั่นคงสืบไป

สำหรับหลักสูตรดังกล่าวจัดโดย สถาบันพระปกเกล้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การบริหารจัดการ และกฎหมายมหาชน เพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ในการวิเคราะห์ภาพการณ์ของประเทศและองค์กรให้กว้างขวาง ละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้น ให้แก่ ข้าราชการระดับสูงของภาครัฐและหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรพัฒนาเอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชน

download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats