วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ อนุสรณ์สถานพฤษภาประชาธรรม สวนสันติพร ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมวางพวงมาลาวัน “พฤษภาคมประชาธรรม” และกล่าวรำลึกวีรชนผู้เสียชีวิตและสูญหายในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมทางการเมืองเดือนพฤษภาคม 2535 โดยมีใจความสำคัญว่า  สำหรับวีรชนผู้ล่วงลับแล้ว วันนี้เมื่อ 32 ปีที่แล้ว อาจจะเป็นวันที่อำนาจรัฐภายใต้รัฐบาลเผด็จการอำนาจนิยม ได้พลัดพรากเอาความฝัน ความเชื่อมั่นศรัทธา ความสุขสมหวังในชีวิตของวัยหนุ่มสาว หรือพลัดพรากความสุขในชีวิตการงานและครอบครัวของผู้รักในอิสรเสรีภาพและเปี่ยมล้นไปด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยของพวกเราไปอย่างไม่มีวันหวนกลับคืน 

สำหรับประชาชนผู้มีใจรักประชาธิปไตยทุก ๆ ท่านแล้ว แม้ว่าพวกเราจะไม่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์เป็นญาติพี่น้องกัน แต่จากเหตุการณ์และวีรกรรมการเสียสละที่เกิดขึ้นได้มีคุณูปการต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในประชาธิปไตยของสังคมไทยจวบจนถึงปัจจุบัน และเป็นเครื่องเตือนสติว่าประชาธิปไตยของเรายังคงต้องพัฒนาก้าวหน้าต่อไป จากประวัติศาสตร์ได้ถูกบันทึกไว้ในวันนั้น และเวียนมาบรรจบครบรอบเป็นปีที่ 32 ในวันนี้ ได้ส่งต่อให้สังคมไทยมีพัฒนาการเติบโตขึ้นเรื่อยมา เริ่มตั้งแต่ความพยายามในการปฏิรูปการเมืองการปกครอง จนกระทั่งทำให้เกิดรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนในความทรงจำของทุกคนทั้งหลาย ทำให้เรามีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นเปลี่ยนแปลงในการรับรองสิทธิและเสรีภาพมาสู่ประชาธิปไตยอย่างมีนัยยะสำคัญยิ่ง และเป็นแม่แบบจากการมีส่วนร่วมของประชาชนมีเนื้อหาสาระที่สะท้อนการยอมรับถึงอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง

ผลจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ไม่เพียงก่อรูปขึ้นให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม ดังตัวอย่างที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2540 แต่ยังทำให้มีกฎหมายจำนวนมาก ที่ตอบสนองต่อประโยชน์ของประชาชนทุกกลุ่ม ไม่มีข้อจำกัดทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา และความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ตลอดจนปรากฏการณ์ทางสังคมและการเมืองในปัจจุบัน เช่น การแสดงออก โดยการชุมนุมทางการเมือง การแสดงความคิดเห็นในพื้นที่สาธารณะ ที่ทำให้ประชาชนมีความตระหนัก นอกเหนือจากการเดินทางไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งกันอย่างคึกคัก ยังเข้าร่วมฟังการปราศรัยนโยบายของพรรคการเมือง และร่วมแสดงออกถึงความต้องการและความสนใจในการบรรลุเป้าหมายทางการเมืองของตนเองกันอย่างเข้มข้น ทำให้พรรคการเมืองต้องปรับตัวและรับฟังต่อเสียงเรียกร้องดังกล่าว ตัวอย่างดังกล่าวยังแทรกซึมไปถึงความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนวิถีการใช้ชีวิตของประชาชนผู้รักประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีของระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องอาศัยการอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างหลากหลายทางความคิด โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ด้วยความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน และไม่ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อที่จะมุ่งทำร้ายแก่กัน สังคมก็จะมีสันติภาพไม่มีความขัดแย้ง เมื่อนั้นทุกภาคส่วนก็จะสามารถร่วมกันพัฒนาชุมชนและสังคม ให้เติบโตไปพร้อม ๆ กัน และบ้านเมืองก็จะสามารถพัฒนาก้าวหน้าต่อไปได้

จากประสบการณ์ของทุกท่าน ความเป็นไปและเหตุการณ์ของบ้านเมืองตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมหรือคาดเดาได้ และบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น เช่น ความสูญเสียที่วีรชนผู้ล่วงลับได้เสียสละนี้ แต่เรื่องราวทั้งหลายเหล่านั้นเกิดขึ้น ก็ย่อมเป็นบทเรียนอันสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของประชาธิปไตยในสังคมไทย เพื่อก้าวย่างที่เข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกันสืบเนื่องต่อไป
ในอนาคตที่จะมาถึงข้างหน้านี้ 

ในการนี้ สมาชิกรัฐสภาและคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมด้วย
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats