วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14.00 นาฬิกา ณ ห้องรับรองพิเศษ 205 ชั้น 2 อาคารรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้การรับรอง H.E.  Mr. Ernst Wolfgang Reichel (นายแอ็นสท์ ว็อล์ฟกัง ไรเซิล) เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย โดยมี นายคัมภีร์ ดิษฐากรณ์ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร นายมุข สุไลมาน เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร นายธงชาติ รัตนวิชา ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร นายสุธีรพันธ์ สุขวุฒิชัย ที่ปรึกษาคณะทำงานทางการเมืองของประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่าที่ ร.ต.ต.อาพัทธ์ สุขะนันท์ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร รักษาราชการแทนเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และนายอาพล  นันทขว้าง ผู้อำนวยการสำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ร่วมให้การรับรอง  

นายวันมูหะมัดนอร์  มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวต้อนรับด้วยความยินดี ที่ผ่านมาความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศมีความผูกพันใกล้ชิดกันอย่างยาวนาน ทั้งในระดับราชวงศ์ รัฐบาล รัฐสภา และประชาชน พร้อมชื่นชมเอกอัครราชทูตฯ ซึ่งเป็นนักการทูตมาอย่างยาวนานและมีประสบการณ์สูง จะช่วยเพิ่มพูนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเยอรมนีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เยอรมนีเป็นประเทศสำคัญที่มาลงทุนในไทยอย่างยาวนาน มีบริษัทจากเยอรมนีกว่า 600 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในไทย ด้านการท่องเที่ยว ปี 2565 มีนักท่องเที่ยวจากเยอรมนีมาเที่ยวไทยกว่า 300,000 คน และคาดว่าแนวโน้มน่าจะเพิ่มขึ้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบว่า เอกอัครราชทูตฯ ได้ไปพบกับ รมว.คมนาคม โดยได้หารือกันในความร่วมมือการขนส่งระบบรางของโครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งเมื่อครั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร ดำรงตำแหน่ง รมว.คมนาคมก็เคยเดินทางเยือนเยอรมนี เพื่อดูงานด้านขนส่งระบบรางเช่นกัน 

เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวขอบคุณประธานสภาผู้แทนราษฎรที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น พร้อมชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีมาอย่างยาวนาน โดยเอกอัครราชทูตฯ ยินดีที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับไทยในทุก ๆ ด้าน พร้อมแสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้ผ่านพ้นการเลือกตั้งจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลและรัฐสภา ซึ่งเป็นไปด้วยดี ปัจจุบันเยอรมนีได้เข้ามาลงทุนในไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีได้มีนโยบายกระจายฐานการผลิตออกไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป ซึ่งเยอรมนีได้บทเรียนมาจากการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียเป็นหลัก จนได้รับผลกระทบเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน 

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมือง โดยเห็นพ้องต้องกันว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เยอรมนีเป็นประเทศที่เป็นแบบอย่างของระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง ซึ่งประเทศไทยกำลังจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยจะได้ศึกษารัฐธรรมนูญของเยอรมนีเพื่อพิจารณาถึงข้อดีต่าง ๆ มาปรับใช้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของไทยต่อไป ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตฯ มีความยินดีให้การสนับสนุนหากรัฐสภาไทยต้องการเดินทางไปเยอรมนีเพื่อศึกษาในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งยังได้หารือกันในเรื่องสถานการณ์ในฉนวนกาซา ซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แสดงความเป็นห่วงในสวัสดิภาพของแรงงานไทยที่ทำงานในพื้นที่ดังกล่าว 

เครดิต : ข่าวโดยกลุ่มงานข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
download download Download all images download
ถ่ายทอดสดประชุมสภา
ระบบสืบค้นข้อมูลสาหรับการประชุมสภา (Android Version)
ระบบฐานข้อมูลรายงานและบันทึกการประชุม
ระบบสารสนเทศด้านนิติบัญญัติ
รัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐
บริการกฎหมาย
รวมกฎหมายประจำปี
ระบบให้บริการข้อมูลทางกฎหมายแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
วิทยุและโทรทัศน์รัฐสภา
รัฐสภาระหว่างประเทศ
ศูนย์ประชาคมอาเซียนของรัฐสภา
หอสมุดรัฐสภา
เยี่ยมชมรัฐสภา
ของที่ระลึกจากรัฐสภา Souvenir
รางวัลพานแว่นฟ้า
โครงการประกวดนวัตกรรมประชาธิปไตย
ยุวชนประชาธิปไตย
ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
การสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทยระหว่างประเทศ
สำนักงบประมาณของรัฐสภา


 วีดิทัศน์


  • ประกวดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย ๒๕๖๔    download_icon

  • ๗๐ ปี แห่งสมาชิกภาพของรัฐสภาไทยในสหภาพรัฐสภา    download_icon

  • เล่าเรื่องในหลวง ร.๙ ภายใน ๒ นาที    download_icon

  • วีดิทัศน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า    download_icon

  • สารานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนฯ    download_icon

 แสดงทั้งหมด...


สงวนลิขสิทธิ์โดย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ๑๑๑๑ ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๐๐ โทรสาร ๐ ๒๒๔๒ ๕๙๙๐ e-Mail : webmaster@parliament.go.th [คลิกดูแผนที่]
ss
Share

View My Stats